วันพฤหัสบดีที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2555

โครงร่างงานวิจัยของนักศึกษา


                                                                                                                                  
งานวิจัยเรื่อง การออกแบบเฟอร์นิเจอร์(โต๊ะ)ทำงาน
Research design furniture (desk) job.


 ชื่อผู้ทำวิจัย          นางสาวประภาพร  โพธิวรรณ
รหัสประจำตัว  5311310691
สาขาวิชาศิลปกรรม แขนงวิชาออกแบบประยุกต์ศิลป์
ภาควิชามนุษยศาสตร์       คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 


ความเห็นของอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการวิจัย.....................................................................
............................................................................................................................................

                                                                                                                ลงชื่อ .............................................
                                                                                                                        (...........................................)





คณบดีหรือรองคณบดีพิจารณาเห็นชอบ
................................................................................................................................................

                                                                                                                  ลงชื่อ ............................................
                                                                                                                        (...........................................)


 ข้อเสนอการวิจัยเพื่อขอรับทุนอุดหนุนการวิจัยจากมหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษมประเภทนักศึกษา


ส่วน ก : ลักษณะทั่วไปของโครงการวิจัย
1. ปีการศึกษาที่เสนอขอรับทุน 2555
2. ประเภทการวิจัย
                (  ) การวิจัยเชิงสำรวจ        (   ) การวิจัยเชิงทดลอง   (  ) การวิจัยและพัฒนา
3. งบประมาณที่เสนอขอทุน  5,000 บาท
4. ระยะเวลาในการทำวิจัย 1 ปี

ส่วน ข : รายละเอียดการทำวิจัย
1.         ชื่อโครงการวิจัย การออกแบบเฟอร์นิเจอร์(โต๊ะ)ทำงาน
Research design furniture (desk) job.
2. ที่มาและความสำคัญของปัญหาการวิจัย
     ประเทศไทยในปัจจุบันนี้เดินหน้าบุกส่งออกเฟอร์นิเจอร์ เตรียมพร้อมจัดงานเฟอร์นิเจอร์ใหญ่ระดับชาติ “TIFF 2012” ตั้งเป้าหมายผู้ร่วมชมงาน 24,300 คน และคาดว่าการซื้อขายในวันเจรจาธุรกิจ จะดันยอดส่งออก 640 และจำหน่ายปลีกอีก 93 ล้านบาท
เฟอร์นิเจอร์หรือเครื่องเรือน ได้มีการผลิตมาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2476 ซึ่ในระยะนั้นเป็นการรับทำตามความต้องการของลูกค้าทำเป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือนเล็ก ๆ น้อย ๆ ต่อมาความต้องการใช้เฟอร์นิเจอร์ภาในประเทศมีแนวโน้มสูงขึ้นเป็นลำดับ ทำให้มีผู้สนใจเข้ามาลงทุนในการผลิตและจำหน่ายเฟอร์นิเจอร์มากขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งพัฒนาจากอุตสาหกรรมในครัวเรือนมาเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่ผลิตเพื่อการส่งออก และมีการผลิตโดยใช้เครื่องมือเครื่องจักรที่สั่งมาจากต่างประเทศอีกด้วย ทั้งนี้เนื่องจากเฟอร์นิเจอร์เป็นสินค้าจำเป็นสำหรับชีวิตประจำวัน คือ มีความสัมพันธ์กับชีวิตมนุษย์โดยตรงทุกอิริยาบท นับตั้งแต่ตื่นนอนจนกระทั่งเข้านอน เฟอร์นิเจอร์จึงมีบทบาทสำคัญยิ่งสำหรับอาคารบ้านเรือนและสถานปรกอบธุรกิจต่าง ๆ ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจมีการเปลี่ยนแปลงและประชากรมีจำนวนเพิ่มขึ้น ความจำเป็นที่จะใช้สินค้าประเภทนี้จึงมีมากขึ้นตามลำดับ
จากการขยายตัวของโครงการก่อสร้างที่อยู่อาศัยในช่วง 3-5 ปี ที่ผ่านมามีปริมาณอาคารบ้านเรือน อาคารธุรกิจการค้าจำนวนมากกระจายตัวไปตามชานเมืองใหญ่ โดยเฉพาะเขตใกล้กรุงเทพมหานคร จังหวัดพระนครศรีอยุธยานอกจากเป็นเมืองประวัติศาสตร์ เป็นเมืองท่องเที่ยวในเชิงโบราณสถานแล้ว ในเขตรอบเมืองได้มีเขตอุตสาหกรรม สวนอุตสาหกรรม และย่านอุตสาหกรรมจำนวนมาก ที่อยู่อาศัยสำหรับพนักงานก็ขยายตัวตามมา ดังนั้นความต้องการเฟอร์นิเจอร์สำหรับใช้หรือตกแต่งที่อยู่อาศัยย่อมเพิ่มขึ้นด้วย แม้ว่าในภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันที่ถือว่ามีปัญหาไม่น้อย ความต้องการเฟอร์นิเจอร์ที่จำเป็นยังคงมีอยู่แต่อาจจะเปลี่ยนแปลงรูปแบบไป เช่น เฟอร์นิเจอร์ชนิดที่ถอดประกอบได้ (Knock down) เพราะสะดวกในการติดตั้ง หรือการขนส่ง และยังขึ้นอยู่กับรสนิยมอีกด้วย
           เฟอร์นิเจอร์เป็นสินค้าที่ไม่เหมือนกับสินค้าประเภทอื่น คือไม่สามารถกักตุนไว้ได้ เพราะขึ้นอยู่กับแฟชั่น ประกอบกับคนไทยเรามักไม่ค่อยให้ความสำคัญเท่าใดนัก การจะจัดหาเฟอร์นิเจอร์ไว้ใช้จะต้องพิจารณาถึงความเหมาะสม สไตล์ความแข็งแรงทนทาน และที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ ถ้ามีฐานะไม่ค่อยจะอำนวยนัก ก็จะซื้อเฟอร์นิเจอร์ประเภทรูปแบบสวยส่วนคุณภาพอาจจะไม่คำนึงถึง แต่ถ้ามีฐานะดีเฟอร์นิเจอร์ที่เลือกใช้จะเป็นแบบที่ได้รับการตกแต่ง และออกแบบโดยมัณฑนากร ซึ่งมีราคาแพงลักษณะของตลาดเฟอร์นิเจอร์ ปัจจุบัน ถือได้ว่าเป็นตลาดนอกระบบเพราะการผลิตเฟอร์นิเจอร์ส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับความต้องการของลูกค้า การผลิตเพื่อการส่งออกยังไม่กว้างขวางนัก เป็นแบบกึ่งอุตสาหกรรม ภาวะของตลาดภายในประเทศขึ้นอยู่กับจำนวนประชากร และการยกระดับความเป็นอยู่หรืออัตรารายได้เป็นปัจจัยสำคัญ ส่วนแหล่งจำหน่ายที่ใหญ่ที่สุดคือย่านสะพานดำ กรุงเทพมหานครสำหรับจังหวัดพระนครศรีอยุธยาร้านจำหน่ายกระจายไปตามอำเภอใหญ่ ๆ ในการศึกษาครั้งนี้จึงเลือกศึกษาเขตอำเภอที่มีประชากรหนาแน่นที่สุด 4 อำเภอ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่แสดงถึงความสัมพันธ์ของความต้องการเฟอร์นิเจอร์ว่าขึ้นอยู่กับการเพิ่มขึ้นของประชากร หรือการมีที่อยู่อาศัยที่เพิ่มขึ้นอย่างไร

 3. วัตถุประสงค์การวิจัย
    3.1  เพื่อศึกษากระบวนการออกแบบเฟอร์นิเจอร์(โต๊ะ)ทำงาน
     3.2  เพื่อผลิตต้นแบบเหมือนจริง (PROTOTYPE) ของเฟอร์นิเจอร์(โต๊ะ)ทำงาน
ที่จัดทำเป็นงานวิจัย

4. สมมติฐานการวิจัย
ในปัจจุบันได้เห็นรูปแบบของเฟอร์นิเจอร์ ที่มีลักษณะ,รูปทรง มีความแตกต่างไปจากเดิมไม่มากก็น้อย ตามความคิดและยุคสมัยนั้นๆจึงอยากจะสร้างเฟอร์นิเจอร์(โต๊ะ) ขึ้นมาชิ้นหนึ่ง ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์และมีประโยชน์ต่อผู้ที่จะนำไปใช้งานได้จริงๆ
5. นิยามศัพท์เฉพาะ
เฟอร์นิเจอร์  หมายถึง เครื่องเรือน หรือ เฟอร์นิเจอร์ มีความหมายถึงวัตถุ สิ่งของที่สามารถเคลื่อนย้ายได้ ที่อาจรอบรับการใช้งานของร่างกายมนุษย์ (เช่นเครื่องเรือนการนั่งและเตียงนอน) หรือมีไว้สำหรับเก็บของ หรือเก็บวัตถุทางแนวตั้งเหนือพื้นผิวของพื้นดิน เครื่องเรือนสำหรับเก็บของมักมีประตู บานเลื่อน และชั้นเก็บของ ที่อาจเก็บของชิ้นเล็ก ๆ อย่างเสื้อผ้า ,อุปกรณ์ ,หนังสือ ข้าวของเครื่องใช้
เครื่องเรือนอาจเป็นผลิตผลที่เกิดจากการออกแบบทางด้านศิลปะ และอาจถือได้ว่าเป็นงานศิลปะประดับตกแต่ง นอกจากนี้อาจมีความหมายในทางเชิงสัญลักษณ์หรือทางด้านศาสนา เครื่องเรือนอาจมีส่วนประกอบร่วมอื่นอย่างเช่นนาฬิกาหรือโคมไฟ เพื่อประโยชน์ใช้สอยพื้นที่ภายใน เครื่องเรือนสามารถทำได้จากวัสดุหลากหลายประเภท อย่างเช่น เหล็ก, พลาสติก และไม้

            การออกแบบ หมายถึง    การออกแบบ ( Design ) คือศาสตร์แห่งความคิด และต้องใช้ศิลป์ร่วมด้วย เป็นการสร้างสรรค์ และการแก้ไขปัญหาที่มีอยู่ เพื่อสนองต่อจุดมุ่งหมาย และนำกลับมาใช้งานได้อย่างน่าพอใจ ความน่าพอใจนั้น แบ่งออกเป็น 3 ข้อหลักๆ ได้ดังนี้

1. ความสวยงาม เป็นสิ่งแรกที่เราได้สัมผัสก่อน คนเราแต่ละคนต่างมีความรับรู้เรื่อง ความสวยงาม กับความพอใจ ในทั้ง 2 เรื่องนี้ไม่เท่ากัน จึงเป็นสิ่งที่ถกเถียงกันอย่างมาก และไม่มีเกณฑ์ ในการตัดสินใดๆเป็นตัวที่กำหนดอย่างชัดเจน ดังนั้นงานที่เราได้มีการจัดองค์ประกอบที่เหมาะสมนั้น ก็จะมองว่าสวยงามได้เหมือนกัน

2. มีประโยชน์ใช้สอยที่ดี เป็นเรื่องที่สำคัญมากในงานออกแบบทุกประเภท เช่นถ้าเป็นการออกแบบสิ่งของ เช่น เก้าอี้,โต๊ะ นั้นจะต้องออกแบบมาให้ใช้สอยได้สะดวก ไม่ปวดเมื่อย ถ้าเป็นงานกราฟฟิค เช่นงานสื่อสิ่งพิมพ์นั้น ตัวหนังสือจะต้องอ่านง่าย เข้าใจง่าย ถึงจะได้ชื่อว่า เป็นงานออกแบบที่มีประโยชน์ใช้สอยที่ดีได้

3. มีแนวความคิดในการออกแบบที่ดี เป็นหนทางความคิด ที่ทำให้งานออกแบบสามารถตอบสนอง ต่อความรู้สึกพอใจ ชื่นชม มีคุณค่า บางคนอาจให้ความสำคัญมากหรือน้อย หรืออาจไม่ให้ความสำคัญเลยก็ได้ ดังนั้นบางครั้งในการออกแบบ โดยใช้แนวความคิดที่ดี อาจจะทำให้ผลงาน หรือสิ่งที่ออกแบบมีคุณค่ามากขึ้นก็ได้

6. ขอบเขตการวิจัย
    6.1  แบบร่าง(IDEA  SKETCH)
    6.2  แบบที่ทำการสรุป(CONCEPT  SKETCH)
    6.3  แบบเพื่อนำไปผลิต(WORKING  DRAWING  หรือ ART  WORK) 
    6.4  ต้นแบบเหมือนจริง(PROTOTYPE)
    6.5  รายงานการวิจัยจำนวน 3 ฉบับ 
    6.6  ซีดีรายงานการวิจัยจำนวน 1 ชุด
7. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
    7.1  กระบวนการออกแบบเฟอร์นิเจอร์(โต๊ะ)ทำงาน
     7.2  ต้นแบบเหมือนจริงของเฟอร์นิเจอร์(โต๊ะ)ทำงาน ความกว้าง: 75 ซม., ความลึก: 60 ซม., สูงอย่างน้อย: 60 ซม มาตราส่วนของงานวิจัยจริงที่จะทำการผลิตชิ้นงาน

8. การทบทวนวรรณกรรมและเอกสารอ้างอิง
   ในการวิจัยเรื่องการออกแบบเฟอร์นิเจอร์(โต๊ะ)ทำงาน ครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ตรงตามConcept ที่กำหนดไว้และเป็นงานที่ถูกต้องตามหลักและรูปแบบในการ Design เฟอร์นิเจอร์ ผู้ศึกษาจึงใช้หลักการที่เกี่ยวข้องกันดังนี้
     8.1 ทฤษฎี
    8.1.1  การออกแบบรูปทรง
แนวความคิด การนำมาใช้ประโยชน์ได้จริง ลักษณะของชิ้นงานแปลกใหม่ การออกแบบเฟอร์นิเจอร์นั้น
อาจแบ่งรูปแบบของการออกแบบเฟอร์นิเจอร์ ได้เป็นสามประเภท, คือ การออกแบบเฟอร์นิเจอร์ตามรูปแบบดังเดิมที่มีอยู่ , เช่น การออกแบบเฟอร์นิเจอร์ในรูปแบบไทย,แบบจีน,แบบอังกฤษ,แบบฝรั่งเศส
และแบบเมดิเตอเรเนียน เป็นต้น ซึ่งการออกแบบเฟอร์นิเจอร์รูปแบบนี้ จะได้รับอิทธิพลหรือแรงบันดาลใจมาจากเฟอร์นิเจอร์รูปแบบดั้งเดิมที่มีการใช้งานอยู่ในแต่ละยุคสมัย, การออกแบบเฟอร์นิเจอร์ตามรูปแบบของท้องถิ่น ซึ่งจะเป็นการออกแบบที่มีการนำวัสดุที่มีอยู่ในท้องถิ่นนั้น ๆ มาเป็นส่วนประกอบหลักของชิ้นงาน เช่น ไม้ไผ่หรือหวาย รวมไปถึงวิถีชีวิต และรูปแบบความเป็นอยู่ของท้องถิ่นนั้น เช่น ความเรียบง่ายในชีวิตความเป็นอยู่ ทำให้ไม่ต้องการเฟอร์นิเจอร์ที่มีรายละเอียดหรือการตกแต่งมากนัก เป็นต้น,กาออกแบบเฟอร์นิเจอร์ตามแบบสมัยนิยม, ซึ่งเป็นการออกแบบเฟอร์นิเจอร์ ตามความนิยมของยุคสมัย, เช่น รูปทรงหรือการใช้สีของเฟอร์นิเจอร์, มีการนำวัสดุอื่นๆ เช่น โลหะ พลาสติก กระจกสี มาใช้ในการตกแต่งเฟอร์นิเจอร์เพิ่มเติม เพื่อความสวยงาม เป็นต้น ซึ่งการออกแบบเฟอร์นิเจอร์ผลิตภัณฑ์งานไม้ อาจไม่ได้มีรูปแบบตายตัวหรือยึดตามแนวทางใดแบบร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่อาจจะต้องมีการประยุกต์เพื่อให้เข้ากับความต้องการของลูกค้าและการใช้งานในชีวิตประจำวัน

8.1.2  หลักการใช้สี
             การเลือกใช้สีเพื่อการออกแบบสื่อต่างๆ หรือแม้กระทั่งในงานออกแบบอื่นๆ สีมีอิทธิผลอย่างมากต่อความรู้สึกของมนุษย์ ดังนั้นเราควนเลือกใช้สีให้เหมาะสมกับงาน เหมาะสมกับเนื้อหาที่ต้องการสื่อไปยังผู้รับข่าวสารนั้นๆ
8.1.3  หลักการใช้สีประกอบร่วมแบบวรรณะ (TONE)
การใช้สีประกอบร่วมวรรณะ จะไม่ใช้วรรณะใดวรรณะหนึ่งโดดเดี่ยว โดยจะทำให้แลดูแล้วเกิดความรู้สึกกลมกลืนไปหมด หลักองค์ประกอบนั้นได้ระบุถึงเกณฑ์หนึ่งที่จะต้องมีในภาพ คือ จุดสนใจ ถ้าทั้งภาพดูกลมกลืนไปหมด ก็อาจนับได้ว่าไม่มีอะไรเป็นจุดสนใจดังนั้นการใช้สีแบบวรรณะนี้มักจะนำสีอีกวรรณะหนึ่งมาประกอบเพื่อให้เกิดความขัดแย้งกัน สีร้อนเมื่อมีสีเย็นเข้ามาประกอบย่อมเกิดความรู้สึกขัดแย้งหรือตัดกัน
                การใช้สีแบบประกอบรวมของสีต่างวรรณะ จึงกำหนดไว้ในอัตราที่ก่อให้เกิดความตัดกันมาก หรือน้อย เพื่อเป็นแนวทางการนำไปใช้ ดังนั้น
                - การใช้สีต่างวรรณะ ในอัตรา 50/50 
                - การใช้สีต่างวรรณะ ในอัตรา 60/40 
                - การใช้สีต่างวรรณะ ในอัตรา 80/20
      8.2 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
           8.2.1 รูปทรงและการออกแบบเฟอร์นิเจอร์ พบว่า ในการออกแบบและประกอบงานเฟอร์นิเจอร์ไม้นั้น สามารถแบ่งประเภทของเฟอร์นิเจอร์ไม้ออกได้เป็นสามประเภท คือ เฟอร์นิเจอร์ไม้ประเภท Built-in ซึ่งเป็นเฟอร์นิเจอร์ไม้ที่เมื่อทำออกมาแล้วจะใช้ติดตั้งอยู่กับที่สำหรับพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง โดยมรูปแบบเฉพาะตัว ยึดติดกับโครงสร้างของอาคารโดยที่สามารถทำการเคลื่อนย้ายได้ยาก เป็นเฟอร์นิเจอร์ไม้ที่ต้องใช้ช่างในการติดตั้งโดยเฉพาะและมีราคาค่อนข้างแพง,เฟอร์นิเจอร์ไม้ประเภท Knock down เป็นเฟอร์นิเจอร์ที่สามารถถอดประกอบได้ ซึ่งเป็นแบบที่สามารถผลิตออกมาได้เป็นจำนวนมากๆในแต่ละครั้งของการผลิต ในการติดตั้งจะใช้ช่างเฟอร์นิเจอร์มาติดตั้งให้หรือผู้ซื้อสามารถติดตั้งได้ด้วยตนเองก็ได้ เป็นเฟอร์นิเจอร์ที่สามารถขนย้ายได้ง่าย แต่ขั้นตอนการออกแบบจะค่อนข้างยากเพราะต้องออกแบบให้ชิ้นส่วนของเฟอร์นิเจอร์แต่ละชิ้นสามารถต่อกันได้เป็นอย่างดีและมีความแข็งแรงเพียงพอ,เฟอร์นิเจอร์ลอยตัว เป็นเฟอร์นิเจอร์ชนิดที่ติดตั้งอยู่กับที่แต่จะมีการผลิตแบบออกมาจากโรงงานและให้ลูกค้าสามารถเลือกแบบได้ด้วยตนเองได้ และเนื่องจากเป็นเฟอร์นิเจอร์แบบสำเร็จรูปจึงไม่ยืดหยุ่นตามสภาพห้องของลูกค้าแต่ละคน ดังนั้นจึงต้องมีการเลือกสรรแบบและขนาดให้รอบคอบก่อนที่จะซื้อไปใช้งาน        
8.2.2 โครงการ การออกแบบ การใช้สีในงานเฟอร์นิเจอร์: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม พบว่า ในหลายๆปีที่ผ่านมา อุตสาหกรรมสี ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนารูปแบบการปกป้องพื้นผิว และเพิ่มรูปแบบสีสัน เพื่อช่วยแสดงออกถึงความรู้สึกทางอารมณ์ ทำให้มีการพัฒนาสีประเภทต่างๆ เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จากอดีตถึงปัจจุบัน มีการพัฒนาสีที่ใช้สำหรับการให้สีวัสดุต่างๆ เป็นอย่างมาก เดิมสีที่ใช้จะอิงสีย้อมสีทอเป็นหลัก ต่อมา จึงได้มีการพัฒนาสีกลุ่มใหม่ ๆ ที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสม สำหรับการให้สีวัสดุเฉพาะอย่างขึ้น ทำให้ขอบข่ายของสีมีให้เลือกขยายกว้างขวางออกไปมาก และสีที่ใช้มีสมบัติตรงกับความต้องการมากขึ้น ทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่คุณภาพสูงตามไปด้วยกล่าวได้ว่าปัจจุบัน เรามีสีที่มีคุณภาพ และมีความคงทนดีกว่าสีที่ใช้ในสมัยก่อนมาก รวมถึงมีการพัฒนาสี ให้ใส่ใจด้านผลกระทบสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น โดยลดสารตั้งต้นที่เป็นพิษ (Toxic) ในเนื้อสีลดลงเพื่อให้มีสารระเหยที่จะส่งผลกระทบที่เป็นอันตราย ต่อร่างกายมนุษย์ลงด้วย ในอนาคตอันใกล้ เป็นที่เชื่อถือได้ว่า น่าจะมีการพัฒนาสีรุ่นใหม่ๆ ที่มีคุณภาพสูง และไม่มีสารพิษประกอบ ให้ใช้เพิ่มมากขึ้นอีกต่อไป

9. ระเบียบวิธีวิจัย
     9.1 ประชากร
                กลุ่มผู้บริโภค generation จำนวน 35 คน
     9.2 การสุ่มตัวอย่าง
             ใช้การสุ่มแบบง่าย ตามสูตรยามาเน
จากนั้นจึงกำหนดกระบวนการตามกรอบการวิจัย โดยมีรายละเอียด ดังนี้
9.2.1 ขั้นตอนการวางแผนก่อนการผลิต  (PRE-PRODUCTION)
- กำหนดประเด็นของปัญหา  ตัวแปรต้น  และตัวแปรตาม  เพื่อ
   ตั้งสมมติฐาน
- จัดทำแบบร่าง  (IDEA  SKETCH)  และทำการสรุปแบบตามสมมติฐาน 
  (CONCEPT  SKETCH)
9.2.2 ขั้นตอนการผลิต  (PRODUCTION)
    - แสดงกระบวนการผลิตต้นแบบเหมือนจริง
9.2.3 ขั้นตอนหลังการผลิต  ( POST  PRODUCTION)
-ประเมินผลด้วยเครื่องมือที่สร้างไว้โดยมีความสัมพันธ์กับลักษณะของ
  ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
- วิเคราะห์ข้อมูลและรายงานผลการวิจัยในรูปแบบความเรียง
    9.3  เครื่องมือในการวิเคราะห์มูล
                - แบบสอบถามความพึงพอใจในผลิตภัณฑ์
                - แบบสัมภาษณ์
     9.4  การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้
                - วิเคราะห์โดยการหาค่าเฉลี่ย ( X ) จากร้อยละ

10. แผนการดำเนินงานตลอดโครงการ
กิจกรรม
พ.ย. 51
ธ.ค.  51
ม.ค.  52
ก.พ.  52
หมายเหตุ
1.การวางแผนก่อนการผลิต 
     - ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูล
     - แบบร่าง
     - สรุปแบบ



2.กระบวนการผลิต 
     - สรุปแบบ




3.กระบวนการหลังการผลิต 
     - ทดสอบสมมติฐาน  
     - วิเคราะห์ข้อมูล
     - แปรผล
     - เรียบเรียงรายงานการวิจัย

























11. รายละเอียดงบประมาณ
      11.1 ค่าใช้สอย   
ลำดับ

                 รายการ
ราคาต่อ
 หน่วย
จำนวน
  รวมเงิน
หมายเหตุ
  1.
ค่าจ้างประกอบ
1,000 บาท
1 ชิ้น
1,500 บาท

 
                                 รวมเป็นเงิน
                (…หนึ่งพันห้าร้อยบาทถ้วน...)


1,500 บาท


      11.2 ค่าวัสดุ  (ค่าวัสดุที่ผลิตผลงานต้นแบบเหมือนจริง)
ลำดับ

                 รายการ
ราคาต่อ
 หน่วย
จำนวน
  รวมเงิน
หมายเหตุ
  1.
การออกแบบเฟอร์นิเจอร์(โต๊ะ)ทำงาน
-ไม้อัดยางAใส้แดง
- กาวepoxy
- สีทาบ้าน(ชนิดสียืดหยุ่น)
- แลคเกอร์ สูตรน้ำ  
- แปรงทาสี 2.5 นิ้ว KP-2000
                  3 นิ้ว KP-2000

440 บาท
 250 บาท
1,450บาท
400 บาท
27 บาท
34 บาท

2 แผ่น
2 คู่
1 กระป๋อง
1 ใบ
1 อัน
1 อัน     

880 บาท
500 บาท
1,450บาท
400 บาท
27 บาท
34 บาท


                                 รวมเป็นเงิน
(…สามพันสองร้อยเก้าสิบเอ็ดบาทถ้วน)






3,291 บาท


          รวมงบประมาณทั้งสิ้นเป็นเงิน... 4,791 บาท      
                      (...สี่พันเจ็ดร้อยเก้าสิบเอ็ดบาทถ้วน...)
หมายเหตุ : ถัวเฉลี่ยทุกรายการ


  ลงชื่อ .............................................
                                                                                                                             ( นางสาวประภาพร  โพธิวรรณ )
                                                                                                                                           ผู้ขอทุนวิจัย
                                                                                                                                     ......../........./..........
                                                                                              
                                                                                     

                                            ประวัติผู้วิจัย



ชื่อ-สกุล                              นางสาวประภาพร  โพธิวรรณ
                                             Ms. PRAPAPORN  POTIWON
รหัสประจำตัว                      5311310691
ที่อยู่ปัจจุบัน
                122/55 .ริมทางรถไฟเก่า แขวงบางนา เขตบางนา จังหวัดกรุงเทพฯ 10260
หมายเลขโทรศัพท์มือถือ   083-4375432
หมายเลขโทรศัพท์ที่พักอาศัย   -
E-Mail: wawa_vuitton@hotmail.com,prapaporn.wawa@gmail.com
ประวัติการศึกษา
                                     -     ประถมศึกษา โรงเรียนสายน้ำทิพย์
                                     -     มัธยมศึกษา  โรงเรียน สายน้ำผึ้งในพระอุปถัมภ์ฯ
                                     -     กำลังศึกษาชั้นปีที่ สาขาวิชาศิลปกรรม (แขนงวิชาออกแบบประยุกต์ศิลป์)
       ภาควิชามนุษยศาสตร์  คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
                                           มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม



                               …………………………………
                               ( นางสาวประภาพร  โพธิวรรณ )
                                ผู้วิจัย
                                                                                   วันที่......./เดือน..../..........




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น